toward-a-nuclear-free-world

Reporting the underreported threat of nuclear weapons and efforts by those striving for a nuclear free world. A project of The Non-Profit International Press Syndicate Japan and its overseas partners in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC since 2009.

INPS Japan
HomeLanguageThaiUN Paves The Way For Conference on Treaty Eliminating Nukes - Thai

UN Paves The Way For Conference on Treaty Eliminating Nukes – Thai

-

UN ปูทางสำหรับการประชุมเกี่ยวกับสนธิสัญญาในการกำจัดนิวเคลียร์

โดย เจมเชด บารัวฮ์

เจนีวา | นิววอร์ก (IDN) – สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ยืนยันว่าจะจัดการประชุมที่เปิดสำหรับรัฐสมาชิกทั้งหมดในช่วงต้นของเดือนมีนาคม 2017 เพื่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับ “วิธีการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อยับยั้งอาวุธนิวเคลียร์อันจะนำไปสู่การกำจัดพวกมันทั้งหมด” โดยการประชุมจะจัดตั้งขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของยูเอ็น ในนิวยอร์ก ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน โดยเริ่มจาก วันที่ 27 ถึง 31 มีนาคม และจาก 15 มิถุนายนถึง 17 กรกฎาคม

 “การตัดสินใจที่สำคัญในประวัติศาสตร์นี้เป็นการแจ้งให้ทราบถึงจุดสิ้นสุดของความพยายามที่เป็นอัมพาตในการปลดอาวุธนิวเคลียร์จากหลายฝ่ายที่นานนับสองศตวรรษ และในขณะที่เมื่อสองรัฐหลักที่ติดอาวุธนิวเคลียร์มีส่วนร่วมในแสนยานุภาพทางนิวเคลียร์” International Campaign to Abolish Nuclear Weapons (ICAN) ระบุ

องค์กรภาคประชาสังคมอ้างอิงถึงประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน และ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกได้ประกาศความต้องการของพวกเขาเพื่อ “เสริมสร้าง” ความสามารถด้านนิวเคลียร์ของประเทศพวกเขา

“พฤติกรรมที่ขาดความยั้งคิดและก้าวร้าวจากรัสเซียและ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกของสหรัฐอเมริกา….ทำให้ทั้งโลกที่เหลืออยู่มีเพียงทางเลือกง่าย ๆ เพียงทางเลือกเดียว คือการมองดูความเสี่ยงของสงครามนิวเคลียร์ดำเนินต่อไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อเพิ่มหรือใช้การดำเนินการ รวมทั้งยับยั้งอาวุธทำลายล้างสูงซึ่งไม่อาจยอมรับได้และไร้มนุษยธรรม” เบียทริซ ฟิห์น ผู้อำนวยการบริหาร ICAN กล่าว

จอห์น ฮัลล์แลม ของ People for Nuclear Disarmament ชี้ให้เห็นว่า รัสเซียและสหรัฐอเมริกาแต่ละประเทศมีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 7,000 ลูกในปัจจุบันนี้ โดยเป็นการลดลงอย่างมากจากเมื่อครั้งสงครามเย็นล่าสุด และแต่ละประเทศยังเก็บขีปนาวุธข้ามทวีปบนพื้นดินไว้ต่ำกว่า 1000 ลูกที่อยู่ในสภาพที่อาจสามารถจุดชนวนขึ้นได้ภายในไม่กี่นาที

“การใช้แม้กระทั่งเศษส่วนของอำนาจทำลายล้างเหล่านี้ (โดยส่วนใหญ่แล้วต่อกันและกัน) จะยุติอารยธรรมตามที่เราทราบกัน (บางสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยการใช้ที่น้อยเท่ากับอาวุธนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ 5 ลูก ในพื้นที่เหนือทวีปแผ่นดินใหญ่ดังกล่าว)” ฮัลล์แลมกล่าว

มันขัดแย้งกับฉากหลังนี้ที่ว่าสมัชชาใหญ่ได้อนุมัติการลงมติที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม โดยการลงคะแนนเป็นไปตามการตัดสินใจเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมจากคณะกรรมการครั้งแรกของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ – ซึ่งดำเนินการในภารกิจเพื่อรักษาความปลอดภัยระหว่างประเทศและการลดอาวุธ – เพื่อเริ่มต้นการทำงานเกี่ยวกับสนธิสัญญาใหม่โดยไม่คำนึงถึงความไม่เห็นด้วยที่รุนแรงจากประเทศที่ติดอาวุธนิวเคลียร์บางประเทศ

รัฐสมาชิก UN 113 รัฐได้ลงมติเห็นชอบในการลงมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม โดยมีผู้ต่อต้าน 35 ราย และงดออกเสียง 13 ราย ดังที่ ICAN ตั้งข้อสังเกต การสนับสนุนเข้มข้นที่สุดในกลุ่มของประเทศ แอฟริกา, ละตินอเมริกา, แคริบเบียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก

กลุ่มระหว่างภูมิภาคประกอบด้วย ออสเตรีย บราซิล ไอร์แลนด์ เม็กซิโก ไนจีเรีย และแอฟริกาใต้ที่ริเริ่มการลงมติ พวกเขามีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเจรจาต่อรองของปีถัดไป

ตาม ICAN กล่าวนั้น สหรัฐอเมริกาได้คัดค้านการร้องขอการระดมทุนสำหรับการเจรจาต่อรองสี่สัปดาห์ที่มีการวางแผนเกี่ยวกับสนธิสัญญาเพื่อห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ก่อนที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะมีการปรับใช้การลงมติของวันที่ 23 ธันวาคมในการประชุมคณะกรรมการงบประมาณของยูเอ็นเพียงไม่นานนัก

 “แต่ภายใต้ความกดดันที่ตึงเครียดจากผู้สนับสนุนของการลดอาวุธนิวเคลียร์นั้นจึงมีการถอนการคัดค้านของตนในท้ายที่สด และคณะกรรมการก็ได้มอบอำนาจการร้องขอ” ICAN ระบุ โดยมีการร่วมมือกันของภาคประชาสังคมที่ทำงานอยู่ใน 100 ประเทศ

ICAN พบเห็นเอกสารรั่วไหลที่กระจายแก่สมาชิก NATO ทั้งหมดจากสหรัฐอเมริกาในเดือน ตุลาคม 2016 ก่อนการตัดสินใจของคณะกรรมการที่หนึ่ง โดยสหรัฐอเมริกา – ซึ่งครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 7,000 ลูก – กระตุ้นให้พันธมิตรของตนทำการคัดค้านการลงมติและบอยคอตการเจรจาต่อรอง

เอกสารมีการเตือนว่าสนธิสัญญาเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์จะกัดกร่อนแนวความคิดที่ว่าอาวุธนิวเคลียร์ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับบางประเทศและทำให้ยากขึ้นสำหรับ NATA ในการมีส่วนร่วมในการวางแผนสงครามนิวเคลียร์

อย่างไรก็ตาม จาก ICAN แล้ว จำนวนพันธมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐอเมริกาซึ่งทำการลงคะแนนเสียงต่อต้านการลงมติ หรืองดออกเสียงในเดือนตุลาคมได้ระบุถึงเจตนาของตนเพื่อมีส่วนร่วมในการเจรจาเพื่อช่วยเหลือในการกำหนดรูปร่างของสนธิสัญญา

เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นผู้จัดอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาในอาณาเขตของตน และได้งดออกเสียงในการลงคะแนนได้ยืนยันว่าตนจะมีส่วนร่วม โดยไม่คำนึงถึงการคัดค้านการลงมติ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ต้องการให้ประเทศของตนเข้าร่วมด้วย

ICAN ยังคงกระตุ้นให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการประชุมในปีถัดไป “ทุก ๆ ประเทศมีผลประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการใช้อาวุธนิวเคลียร์อีกเลย ซึ่งอาจได้รับการรับรองผ่านการขจัดอย่างสิ้นเชิงของพวกเขาเท่านั้น เรายังคงเรียกร้องให้ทุก ๆ รัฐบาลเข้าร่วมในการเจรจาต่อรองในปีถัดไปและทำงานเพื่อบรรลุถึงสนธิสัญญาที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ” ฟิห์นกล่าว

ICAN เน้นยำว่า การเจรจาต่อรอง ควรได้รับการดำเนินการไม่ว่าประเทศที่ติดอาวุธนิวเคลียร์จะเห็นด้วยในการมีส่วนร่วมหรือไม่ก็ตาม “ในภารกิจหลัก อาวุธที่ขาดการพิจารณาในลักษณะและมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดมหันตภัยอันสร้างหายนะด้านมนุษยธรรมควรถูกยับยั้งภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยสนธิสัญญาใหม่นี้จะบรรจุอาวุธนิวเคลียร์ในรากฐานกฎหมายเดียวกันกับอาวุธอื่น ๆ ที่มีการทำลายล้างสูง” ฟิห์นกล่าวเสริม

เธอหวังว่าเมื่อผ่านอำนาจบรรทัดฐานของมันแล้ว สนธิสัญญาการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์จะส่งผลต่อพฤติกรรมของประเทศที่ติดอาวุธนิวเคลียร์แม้ว่าพวกเขาจะปฏิเสธการเข้าร่วม มันจะยังส่งผลต่อพฤติกรรมของพันธมิตรทั้งหลายของพวกเขาที่เรียกร้องการป้องกันจากอาวุธนิวเคลียร์ในปัจจุบันนี้อีกด้วย ซึ่งรวมถึงประเทศนั้น ๆ ในยุโรปที่เป็นเจ้าภาพอาวุธนิวเคลียร์ในอาณาเขตของพวกเขา “มันจะมีส่วนช่วยเหลือที่สำคัญต่อการบรรลุถึงโลกที่ไร้ซึ่งอาวุธนิวเคลียร์”

สนธิสัญญามีแนวโน้มที่จะรวมบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกันกับที่พบในสนธิสัญญาที่เป็นการห้ามอาวุธทางชีวภาพ อาวุธเคมี ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และระเบิดลูกปรายที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้รวมถึงการหวงห้ามในการใช้ การพัฒนา การสร้าง การแสวงหา การเก็บสะสม การเก็บรักษา การโอนต่อ เช่นเดียวกับการช่วยเหลือ การสนับสนุน หรือการชักนำให้ผู้ใดมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หวงห้ามใด ๆ เหล่านี้

อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและระเบิดลูกปรายคือสิ่งที่ได้รับการหวงห้ามอย่างชัดเจนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

อาวุธนิวเคลียร์ยังคงเป็นอาวุธเดียวที่มีการทำลายล้างสูงที่ยังไม่ผิดกฎหมายในลักษณะที่สากลและครอบคลุม แม้จะมีผลกระทบต่อหายนะด้านมนุษยธรรมและทางสภาพแวดล้อมที่มีเอกสารยืนยันเป็นอย่างดีของพวกมัน โดยการศึกษาเมื่อล่าสุดนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงของการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์โดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจที่มีการประเมินค่าต่ำไปหรือเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก

เหยื่อและผู้รอดชีวิตจากการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ได้มีส่วนช่วยเหลืออย่างกระตือรือร้น เซ็ตซึโกะ เธอร์โลว์ ผู้รอดชีวิตจากการระเบิดเมือง ฮิโรชิมาเป็นผู้นำการสนับสนุนการห้ามใช้ตลอดมา

 “นี่คือช่วงเวลาที่สำคัญแห่งประวัติศาสตร์สำหรับทั้งโลกอย่างแท้จริง” เธอกล่าวสิ่งนี้ในการลงคะแนนเสียง วันที่ 23 ธันวาคม “สำหรับเราผู้ที่รอดชีวิตในการระเบิดปรมาณูของเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ เราทราบว่าอาวุธนิวเคลียร์นั้น ไร้มนุษยธรรม ขาดการยั้งคิด และไม่อาจยอมรับได้ ทุกประเทศควรมีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองในปีถัดไปเพื่อคว่ำบาตรพวกมัน” [IDN-InDepthNews – 26 ธันวาคม 2016]

ภาพถ่าย: สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติอนุมัติการลงมติที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในวันที่ 23 ธันวาคม2016 เครดิต: ICAN

Most Popular