toward-a-nuclear-free-world

Reporting the underreported threat of nuclear weapons and efforts by those striving for a nuclear free world. A project of The Non-Profit International Press Syndicate Japan and its overseas partners in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC since 2009.

INPS Japan
HomeLanguageThaiUlaanbaatar Conference Stresses the Role of Individual States in Nuclear Disarmament Process...

Ulaanbaatar Conference Stresses the Role of Individual States in Nuclear Disarmament Process – Thai

-

การประชุมที่อูลานบาตาร์เน้นย้ำบทบาทของแต่ละรัฐในกระบวนการการลดอาวุธนิวเคลียร์

โดย Jamshed Baruah

นิวยอร์ก | อูลานบาตาร์ (IDN) – คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการเริ่มต้นการเจรจาหกฝ่ายใหม่ และในขณะเดียวกันก็ได้เห็นด้วยอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (DPRK) โดยตอบสนองต่อการทดลอบนิวเคลียร์ครั้งที่หกและเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดของประเทศดังกล่าวในตอนต้นเดือนกันยายน

ในการเรียกร้องให้มีการเจรจาต่อรองพหุภาคีซึ่งประกอบไปด้วยประเทศจีน DPRK ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐรัสเซียและสหรัฐอเมริกา คณะมนตรีดังกล่าวซึ่งมีสมาชิก 15 ประเทศได้แสดง “ความมุ่งมั่นของตนในการหาทางออกที่สงบสุข มีชั้นเชิงและดำเนินการทางการเมืองต่อสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี”

ปัญหาดังกล่าวยังดึงความสนใจของเราไปยัง การประชุมระหว่างประเทศเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์ประเด็นทั่วโลกและภูมิภาค (International Conference on Nuclear Disarmament Issues: Global and Regional Aspects)’ ในวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายนประมาณ 10,150 กิโลเมตรห่างจากอูลานบาตอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศมองโกเลียที่อยู่ติดกับจีนในทางทิศใต้และรัสเซียในทางเหนือ

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยองค์กรเอกชนในมองโกเลียซึ่งมีชื่อว่า ‘Blue Banner’ โดยมี Jargalsaikhan Enkhsaikhan เป็นประธาน โดยเขาเป็นอดีตผู้แทนประเทศถาวรต่อสหประชาชาติ มันยังเป็นวันครบรอบ 25 ปีของการริเริ่มของมองโกเลียเพื่อเปลี่ยนอาณาเขตของตนให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แบบรัฐเดี่ยว (NWFZ)

Punsalmaagiin Ochirbat ประธานาธิบดีของมองโกเลียได้ประกาศว่ามองโกเลียเป็น NWFZ และได้ให้คำมั่นว่าจะรับการรับรองสถานะดังกล่าวในระดับสากล โดยเขากล่าวระหว่างการอภิปรายทั่วไปในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน 1992 พร้อมทั้งระลึกถึงบทเรียนในช่วงสงครามเย็น

เป้าหมายของข้อเสนอคือการประกาศต่อโลกอย่างชัดเจนว่ามองโกเลียไม่ได้มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในอาณาเขตของตน และมองโกเลียจะปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อที่จะได้ไม่มีประเทศใด ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ที่ได้รับอนุญาตให้นำอาวุธดังกล่าวเข้ามาในเขตแดนของตนระหว่างสงครามเย็น และมองโกเลียจะเดินหน้าเพื่อได้รับการยอมรับด้านความปลอดภัยจาก NWS (รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์) ทั้งห้า – ซึ่งได้แก่ประเทศจีน สหพันธรัฐรัสเซีย (สหภาพโซเวียตในขณะนั้น) สหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งก็ยังเป็นสมาชิกถาวรทั้งห้า (P5) ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

การผลักดันของมองโกเลียในการทำให้สถานะของตนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาตินั้นได้ส่งผลใน Resolution 53/77 D ซึ่งได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1998 ซึ่งสนับสนุนเป้าหมายของมองโกเลียและกำหนดให้มันเป็นวาระการประชุมสำหรับการประชุมครั้งถัดไป

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2000 ผู้แทนถาวรของมองโกเลียต่อสหประชาชาติ ท่านทูต Enkhsaikhan ได้นำเสนอจดหมายที่ระบุถึงกฎหมายการกำจัดนิวเคลียร์ของมองโกเลีย ซึ่งในขณะนั้นได้รับการเผยแพร่ในชื่อ A/55/56 S/2000/160 – จึงนับเป็นการเสร็จสิ้นการรับรู้ประเทศมองโกเลียในสถานะปลอดอาวุธนิวเคลียร์

การประชุมอูลานบาตาร์ได้ใช้แถลงการณ์ซึ่งอธิบายว่าการเคลื่อนไหวของ SS-NWFZ นั้นเป็นมาตรการระดับชาติอันสำคัญในการยืนยันถึงความปลอดภัยของมองโกเลีย “มันยังเป็นมาตรการระหว่างประเทศแบบใหม่เพื่อเติมเต็มพื้นที่สีเทาใด ๆ ในโลกใหม่ที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์” ดังที่บันทึกในแถลงการณ์ดังกล่าว

แถลงการณ์ยังกล่าวเพิ่มว่า ในวันนี้ มองโกเลียได้รับการยอมรับจากนานาชาติและได้รับการสนับสนุนต่อนโยบายของตนในการส่งเสริมสถานะการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของตนที่เสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคด้วยวิธีการทางการเมืองและการทูต ผ่านการสนทนาอย่างสม่ำเสมอและการเจรจาบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของรัฐอธิปไตย ความเคารพซึ่งกันและกันและการทำงานร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์ร่วม

แท้จริงแล้ว รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ทั้งห้า (P5) – ประเทศจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยเช่นกัน – ได้ออกแถลงการณ์ร่วมในปี 2012 และแสดงความเคารพต่อสถานะของมองโกเลียและสัญญาว่าจะไม่มีส่วนร่วมในการกระทำใด ๆ ที่จะฝ่าฝืนสถานะดังกล่าว

แถลงการณ์ดังกล่าวเน้นย้ำว่า “คำมั่นสัญญานี้หมายความว่าจะไม่มีประเทศใด ๆ ใน P5 ที่จะพยายามใช้พื้นที่ของมองโกเลียสำหรับระบบอาวุธนิวเคลียร์ของตน ซึ่งรวมถึงการใช้เพื่อการสื่อสาร การเฝ้าระวัง การรวบรวมข่าวกรอง การฝึกอาวุธและวัตถุประสงค์อื่น ๆ”

ผู้เข้าร่วม – ซึ่งไม่ได้มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ยังมาจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป – ได้แสดงการสนับสนุนต่อนโยบายมองโกเลียในการทำให้สถานะการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของตนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของโครงสร้างความมั่นคงของเอเชียตะวันออก อีกทั้งต่อความพร้อมของมองโกเลียในการแบ่งปันประสบการณ์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการสร้าง NWFZ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

การประชุมดังกล่าวเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วม และยังอนุญาตให้นักศึกษารัฐศาสตร์จาก Ritsumeikan University ในญี่ปุ่นเข้าร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเซสชั่นเกี่ยวกับบทบาทของแต่ละรัฐในกระบวนการการลดอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็น ‘ร่มปรมาณู’ ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่นจึงไม่เข้าร่วมการเจรจาต่อรองซึ่งปูทางให้สหประชาชาติใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในวันที่ 7 กรกฎาคม

แถลงการณ์ดังกล่าวบันทึกว่า: “มองโกเลียได้แสดงให้เห็นว่าความพยายามของทุกรัฐนั้นมีความสำคัญต่อการสนับสนุนเป้าหมายร่วมในการมีโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ตัวอย่างของมองโกเลียเป็นที่มาของแรงบันดาลใจสำหรับรัฐอื่น ๆ เพื่อที่พวกเขาจะไม่เพียงแต่กล่าวถึงปัญหาที่เป็นความกังวลร่วมผ่านทางการสนทนาและแนวทางใหม่ ๆ แต่ยังจะมีผลต่อรัฐที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของ NWFZ ดั้งเดิม (ในแง่ภูมิภาค) เนื่องด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของตนหรือเหตุผลทางการเมืองด้วยเช่นกัน”

Enkhsaikhan กล่าวว่าการประชุมดังกล่าวมีเป้าหมาย “ในการกระตุ้นให้เกิดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเดินหน้าด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมสำหรับโลกที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์

กลยุทธ์ดังกล่าวรวมถึงการใช้สนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการเจรจาต่อรองลดอาวุธนิวเคลียร์ สิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนถัดไปทั้งในแง่ตรรกะและและเชิงปฏิบัติ และบทบาทสำคัญของรัฐที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ “มีการอภิปรายที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีของอิหร่านและเกาหลีเหนือใน NPT หรือที่เรียกว่าสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons) และระบบการไม่แพร่ขยายโดยทั่วไป” กล่าวโดย Enkhsaikhan

ในระดับภูมิภาค ผู้เข้าร่วมประชุมได้แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ผู้เข้าร่วมหลายรายได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการเจรจาต่อรองโดยไม่มีเงื่อนไขระหว่างสหรัฐฯ กับ DPRK โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความตึงเครียดและหยุดการใช้กำลังหรือการคุกคามในการใช้กำลัง

ผู้เข้าร่วมการประชุมบางรายตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาในการเจรจาหกฝ่าย และได้เสนอว่าอาจเป็นการดีในการลองใช้รูปแบบใหม่ในอูลานบาตาร์โดยให้มองโกเลียเข้าร่วมในฐานะรัฐเล็กที่มีนโยบายต่างประเทศที่ดำเนินการอยู่และมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงนิวเคลียร์ และยังมีข้อเสนอแนะว่ามองโกเลียอาจมีบทบาทเชิงบวกภายใต้สภาวะปัจจุบันได้เช่นเดียวกัน

แถลงการณ์ที่ยอมรับโดยที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของบทบาทของมองโกเลีย โดยชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าสงครามเย็นจะได้สิ้นสุดลงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่ผลในด้านสันติภาพกลับต่ำกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้สูง

ดังที่แถลงการณ์ชี้ให้เห็น การพัฒนาระบบอาวุธนิวเคลียร์ให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องนั้นได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับชุมชนนานาชาติ จำนวนของรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ได้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ชนิดใหม่และอาวุธทั่วไปขั้นสูงได้ทำให้ความแตกต่างของอาวุธทั้งสองแบบ และความแตกต่างของอาวุธนิวเคลียร์เชิงกลยุทธ์และอาวุธนิวเคลียร์ที่ไม่ใช้ในเชิงกลยุทธ์ไม่ชัดเจน

ความเป็นไปได้ในการ “ปรับ” อาวุธนิวเคลียร์ให้มีผลอันหลากหลายและการลดเกณฑ์การใช้งานของมันทำให้อาวุธเหล่านี้ “ใช้งานได้” มากขึ้น แถลงการณ์ดังกล่าวเน้นย้ำว่า “ในสถานการณ์เช่นนี้ การรับประกันอย่างเดียวที่จะมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการใช้หรือการคุกคามจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์และสามารถยืนยันว่า ‘จะไม่มีผู้รับเคราะห์จากการระเบิดเพิ่มเติม’ ก็คือการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิง”

มันยังกล่าวเพิ่มด้วยว่า: การมีอยู่ของอาวุธนิวเคลียร์และการระเบิดของมัน ไม่ว่าจะด้วยความจงใจ อุบัติเหตุหรือในทางใดก็ตาม ต่างสร้างภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ และจะมีผลอย่างหนักต่อสุขภาพของโลก ความมั่นคงด้านอาหารและสภาพภูมิอากาศโลก รัฐอาวุธนิวเคลียร์มีความรับผิดชอบโดยตรงและสูงสุดในการกำจัดโรงงานสรรพาวุธของตน

อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมการประชุมกล่าวว่ารัฐที่ไม่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกันแม้จะไม่ต้องกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ ดังที่เห็นได้จากการยอมรับสนธิสัญญาการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในเดือนกรกฎาคม

“การจัดตั้ง NWFZ เป็นมาตรการระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพในการลดอาวุธนิวเคลียร์ ในการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ประเทศเหล่านี้ได้เดินหน้าไปไกลกว่าความมุ่งมั่นของ NPT ในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง และได้มีส่วนทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น” กล่าวเพิ่มเติมในแถลงการณ์การประชุมอูลานบาตาร์ [IDN-InDepthNews – 13 กันยายน 2017]

เครดิตรูปภาพ: The Blue Banner

Most Popular