toward-a-nuclear-free-world

Reporting the underreported threat of nuclear weapons and efforts by those striving for a nuclear free world. A project of The Non-Profit International Press Syndicate Japan and its overseas partners in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC since 2009.

INPS Japan
HomeLanguageThaiBangladesh Opting for Peace Rather Than Nuclear Arms - Thai

Bangladesh Opting for Peace Rather Than Nuclear Arms – Thai

-

บังกลาเทศเลือกสันติภาพมากกว่าการติดอาวุธนิวเคลียร์

การวิเคราะห์โดยNaimul Haq

ธากาบังกลาเทศ(IDN) – แม้ว่าทั่วโลกจะมีภัยคุกคามด้านการโจมตีนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น แต่บังกลาเทศ – ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ – เลือกที่จะยังคงเป็นประเทศที่สงบสุขมากกว่าการเข้าร่วมสโมสรแห่งอาวุธนิวเคลียร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแห่งชาติซึ่งสนับสนุนเจตจำนงทางการเมืองในการส่งเสริมสันติภาพทั่วโลกและการดำเนินการโดยสอดคล้องกับสนธิสัญญาสันติภาพนิวเคลียร์ระหว่างประเทศกล่าวว่า แม้ว่าสงครามเย็นจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ความเป็นไปได้สำหรับการโจมตีทางนิวเคลียร์นั้นยังมีอยู่

ตามความคิดเห็นที่แตกต่างแต่เป็นหนึ่งเดียว พวกเขาก็ได้ระบุว่าภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์ทั่วโลกได้ลดลง แต่ความเสี่ยงของการโจมตีนิวเคลียร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีประเทศจำนวนมากขึ้นที่ได้รับเทคโนโลยีในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนั้นแล้ว เหล่าผู้ก่อการร้ายยังกระหายที่จะซื้ออาวุธซึ่งมีอำนาจการทำลายล้างสูงดังกล่าวด้วยเช่นกัน

พวกเขากล่าวว่า ตราบใดก็ตามที่อันตรายของภัยคุกคามยังคงมีอยู่ บังกลาเทศก็จะต้องยอมรับต่อการเสริมสร้างระบบข่าวกรองด้านความปลอดภัยแห่งชาติและมุ่งเน้นกลยุทธ์ในการกระจายรังสีเพื่อให้ตนอยู่รอดจากการโจมตีดังกล่าว

นายพลจัตวา M. Sakhawat Hussain (เกษียณแล้ว) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยและการป้องกันแห่งชาติ ได้อ้างอิงไปยังปัญหาของ ‘การป้องกันแบบครอบคลุม’ สำหรับนิวเคลียร์ระหว่างจีน-อินเดีย-สหรัฐอเมริกา และบอก IDN ว่า: “บังกลาเทศไม่ได้เป็นประเทศที่ก้าวร้าว และไม่ได้เผชิญกับการโจมตีนิวเคลียร์อย่างน้อยภายในช่วงศตวรรษนี้ ไม่มีภัยคุกคามภายนอกคืบคลานเข้ามาในขณะนี้ แต่แน่นอนว่าเราต่างก็ไม่สามารถทำนายอนาคตได้”

Hussain ได้ตั้งข้อสงสัยถึงเหตุผลเบื้องหลังการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และบอกว่าความฝันใด ๆ ต่อการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้นอาจเป็นการผจญภัยที่มีความเสี่ยงสูงสุด

เขาถามว่า “เราจะโจมตีใคร หรือว่าเราพิจารณาว่าใครเป็นศัตรูของเรา” “ถ้าคุณสังเกตให้ดี คุณจะเห็นว่าโดยทั่วไปแล้วประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์เป็นประเทศที่มีศัตรู เช่น สหรัฐอเมริกามีสหภาพโซเวียตเป็นศัตรูที่ใหญ่ที่สุด อินเดียและปากีสถานก็ได้พัฒนาอาวุธเพื่อต่อสู้กันและกัน เกาหลีเหนือประสบภัยคุกคามจากศัตรูของตนซึ่งก็คือเกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลต่างก็พยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เช่นเดียวกันเนื่องจากพวกเขารู้สึกได้ว่าภัยคุกคามอาจจะมาจากศัตรูอาหรับของตน”

เขายังชี้แจงต่อไปว่า “ตามหลักภูมิศาสตร์แล้ว หากสงครามอินเดีย-ปากีสถานจะเกิดขึ้นอีกครั้ง ในทางกลยุทธ์ บังกลาเทศอาจประสบภัยคุกคามเนื่องจากการเผชิญกับกัมมันตภาพรังสีจากการโจมตีด้วยระเบิดที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากเราเป็นประเทศเพื่อนบ้านของพวกเขา ในกรณีเช่นนี้ เราควรเตรียมพลเมืองของเราให้พร้อมสำหรับความรู้ด้านการอยู่รอดในสภาพรังสี มากกว่าการเตรียมความพร้อมสำหรับการโต้ตอบต่อการโจมตีนิวเคลียร์ ซึ่งนี่ก็เหมือนกับสิ่งที่ประเทศอื่น ๆ ทำ”

Hussain ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างระบบข่าวกรองด้านนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งเขากล่าวว่ามันเป็นกุญแจสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ในทุกวันนี้

นายพล Mohammad Abdur Rashid (เกษียณแล้ว) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยแห่งชาติได้บอก IDN ว่า: “การเข้าสู่ ‘สโมสรนิวเคลียร์’ ในยุคของการรักษาความปลอดภัยทั่วโลกในทุกวันนี้จะเป็นการลงทุนที่ไร้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในขณะนี้ประเทศบังกลาเทศมีเศรษฐกิจที่เติบโตยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ทางการเมืองของภูมิภาคแล้ว ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่เราควรฝันที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์”

Rashid ซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริหารของสถาบันการศึกษาด้านความขัดแย้ง กฎหมายและการพัฒนา (ICLDS) ด้วยเช่นกันได้กล่าวว่า: “บังกลาเทศควรพิจารณาการมุ่งเน้นต่อการเผยแพร่กลยุทธ์การอยู่รอดหากอินเดียและปากีสถานเข้าร่วมสงครามนิวเคลียร์ สิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้คือการทำให้ประชากรของเราปลอดภัยจากความรุนแรงและเกือบทุกประเทศได้มีวิธีการเตรียมพร้อมของตนเพื่อปกป้องประชากรของตนจากการแพร่รังสีนิวเคลียร์ที่ร้ายแรง”

เรายังเน้นย้ำต่อการเสริมสร้างระบบข่าวกรองเพื่อตรวจสอบภัยคุกคามนิวเคลียร์ใด ๆ และเตรียมตัวโดยสอดคล้องกันไป “สำนักข่าวกรองที่แข็งแกร่งเป็นเครื่องมือที่ดีในการเตือนภัยคุกคามก่อนหน้า”

M. A. Gofran ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทนกล่าวกับ IDN ว่า: “เมื่อโลกได้กำลังค้นหาจุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ มันไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่ประเทศยากจนอย่างบังกลาเทศจะไล่ตามอาวุธนิวเคลียร์ที่มีราคาแพงมากและไม่ปลอดภัย ในแท้จริงแล้วนิวเคลียร์ไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับสงครามอีกต่อไป และหลังจากที่โลกได้พบเห็นว่าอาวุธแห่งการทำลายล้างสูงนั้นสามารถทำอะไรต่อมนุษยชาติได้บ้างในฮิโรชิมาและนางาซากิ ก็จะไม่มีการโจมตีระเบิดนิวเคลียร์อีกต่อไป”

สำหรับปัญหา การป้องกันแบบครอบคลุม’ Gofran กล่าวว่า: “ยักษ์ใหญ่ทางนิวเคลียร์ เช่น อินเดียหรือสหรัฐอเมริกาไม่สามารถรับประกัน ‘การป้องกัน’ ได้แม้กระทั่งสำหรับประเทศที่เป็นมิตรกับตน ระเบิดนิวเคลียร์ไม่ใช่เป็นเพียงชิ้นส่วนปืนใหญ่ การตอบโต้ด้วยระเบิดนิวเคลียร์ต่อประเทศที่เป็นมิตรนั้นก็เหมือนกับการที่ประเทศจำเป็นต้องรับความเสี่ยงต่อการโจมตีระเบิดนิวเคลียร์ต่ขอบเขตประเทศของตนโดยศัตรูของอีกประเทศหนึ่ง และเหตุใดยักษ์ใหญ่ทางนิวเคลียร์จึงได้กระทำอย่างไร้ความรับผิดชอบเช่นนี้?”

นักข่าวอาวุโส Afsan Chouwdhury ได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของภัยคุกคามของนิวเคลียร์ใด ๆ สำหรับบังกลาเทศ: “เราปลอดภัยเนื่องจากว่าใครจะอยากโจมตีเราด้วยระเบิดนิวเคลียร์?  อินเดียอยู่รอบประเทศเรา และเราจะปลอดภัย ยกเว้นว่าอินเดียจะเป็นผู้โจมตีเสียเองซึ่งนี่ก็แทบเป็นไปไม่ได้ เราไม่ได้แสดงออกในการคุกคามต่อประเทศใด ๆ”

โดยเกี่ยวข้องกับนโยบายพลังงานปัจจุบันและความสามารถในการจัดการเชื้อเพลิง Afsan กล่าวว่า: “พวกเราไม่มีความพร้อมหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการจัดการเทคโนโลยี (อาวุธ) นิวเคลียร์ และเราจะไปโจมตีใคร? ไม่มีเหตุผลใด ๆ ในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์นั้นต่อประเด็นด้านความปลอดภัยของโลกเลย ผมมองว่าไม่มีรัฐบาลใดของบังกลาเทศจะใฝ่หาสิ่งนั้น”

นายพล Mohammad Ali Sikder (เกษียณแล้ว) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยทางการเมืองกล่าวกับ IDN ว่า: “เราเป็นประเทศที่เป็นมิตรมาตลอด และท่าทีที่เป็นมิตรของเรานั้นฝังรากลึกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของเรามาเสมอ เราไม่เคยสนับสนุนความขัดแย้งในอดีตและเราไม่มีคู่แข่งทางนิวเคลียร์ใด ๆ โดยแท้จริงแล้ว เรามองไม่เห็นเหตุผลใด ๆ ที่ควรทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย”

ตามคำกล่าวของ Sikder “ประเทศข้างเคียงซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ทางนิวเคลียร์– อินเดียและจีน– ได้เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเราเสมอมา ในวันนี้ความเป็นไปได้ทางภูมิศาสตร์การเมืองไม่ได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามใด ๆ ต่อบังกลาเทศ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องคิดถึงความสามารถทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ในขณะนี้”

แต่อย่างไรก็ตาม เขาเสริมว่า “เราจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถของหน่วยข่าวกรองภายนอกให้ทันสมัยเสมอ สิ่งที่ฉลาดที่สุดที่ควรทำคือการมีเทคโนโลยีทางข่าวกรองขั้นสูงที่ทันสมัย วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถรู้ถึงภัยคุกคามที่เป็นไปได้ หากมันเกิดขึ้น”

M. Ali Zulquarnain ประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งบังกลาเทศกล่าวกับ IDN ว่าโครงการนิวเคลียร์ของบังกลาเทศนั้นมีวัตถุประสงค์ด้านสันติตลอดมา

เขากล่าวว่า “BAEC ได้ดำเนินการวิจัย (ส่วนใหญ่ในด้านการแพทย์) อย่างต่อเนื่องและการพัฒนาได้กระทำโดยสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ BAEC ได้ทำงานในขอบเขตของระบบพลังงานนิวเคลียร์อย่างยั่งยืน แนวคิดเครื่องปฏิกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงและการบรรเทาผลของมัน และการวิเคราะห์วงจรเชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์สำหรับระบบพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต โดยผ่านทาง INPRO และกิจกรรมนานาชาติและภูมิภาคอื่น ๆ”

เขายังอธิบายต่อไปอีกว่าเขาเชื่อว่าบังกลาเทศอยู่ “ในตำแหน่งที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการใช้งานพลังงานนิวเคลียร์และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมัน เนื่องจากเรามีความชำนาญในกิจกรรมการวิจัยนิวเคลียร์” ประเทศของเรา “มีประวัติศาสตร์ที่ไร้ที่ติในโลกแห่งการใช้งานพลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติ เราเป็นผู้ลงชื่อในข้อตกลงนานาชาติเกือบทั้งหมดซึ่งครอบคลุมถึงการไม่ขยายการใช้นิวเคลียร์”

IDN ได้พูดคุยกับผู้คนจากหลากหลายภาคส่วนของสังคม เช่น ครู อดีตข้าราชการและพนักงานเอกชน ผู้สื่อข่าวและนักธุรกิจ พวกเขามีความเห็นในทางเดียวกัน และได้เรียกร้องสันติภาพและปฏิเสธแนวคิดใด ๆ ที่จะเข้าสู่การแข่งขันทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งพวกเขาอธิบายว่ามันไร้สาระ

นักการธนาคารผู้มีประสบการณ์หนึ่งท่านได้กล่าวไว้ว่า “บังกลาเทศเป็นประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจได้เร็วที่สุดในเอเชียใต้ และความใฝ่ฝันทางด้านอาวุธนิวเคลียร์จะทำลายการเติบโตนี้อย่างทันที”

อาจารย์ผู้มีประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า: “เริ่มแรก บังกลาเทศสามารถเป็นสมาชิกของสมาคมนิวเคลียร์ได้หรือไม่? มันแพงและไม่ปลอดภัยเกินไป ตามพื้นฐานทั้งสองด้านนี้ บังกลาเทศไม่มีตัวเลือกใด ๆ นอกจากการพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน” [IDN-InDepthNews – 25 มิถุนายน 2016]

Most Popular