การไม่ตกลงต่อมติการห้ามนิวเคลียร์ของออสเตรเลียนำไปสู่การอภิปราย
โดย Neena Bhandari
ซิดนีย์ (IDN) – เมื่อใกล้จะสิ้นสุดปี 2016 ซึ่งเป็นปีครบรอบห้าปีของเหตุการณ์ฟุกุชิมะและปีครอบรอบ 30 ปีของภัยพิบัตินิวเคลียร์เชียร์โนบีล ซึ่งส่งการเตือนใจที่เศร้าหมองถึงผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมและการทำลายล้างมนุษยธรรมของอาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง การตัดสินใจที่จะทำให้โลกนี้ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์นั้นแน่วแน่กว่าที่เคย
มติสหประชาชาติ A/C.1/71/L.41 ซึ่งเรียกร้องให้มีการเจราจาด้าน “เครื่องมือที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเพื่อห้ามอาวุธนิวเคลียร์ และนำไปสู่การกำจัดมันโดยทั้งหมด” ได้รับการลงมติยอมรับ ที่สมัยประชุมที่ 71 ของคณะกรรมการที่หนึ่งแห่งสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (UNGA) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2016 โดย 123 สมาชิกรวมถึงเกาหลีเหนือที่มีนิวเคลียร์ ซึ่งลงคะแนนให้มีการเริ่มการเจรจาการลดอาวุธพหุภาคี โดยมี 38 สมาชิกลงคะแนนไม่เห็นด้วยและ 16 สมาชิกงดออกเสียง
ออสเตรเลียซึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนการลดอาวุธนิวเคลียร์เลือกที่จะคัดค้านมติอแม้ว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียง 26 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกของประเทศที่เป็นทวีปนั้นออกเสียงเห็นด้วยพร้อมกับประเทศแอฟริกา ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ผู้อำนวยการการรณรงค์ของออสเตรเลียแห่งการรณรงค์นานาชาติในการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ (ICAN) Tim Wright กล่าวว่า “จะมีความเสี่ยงในการสร้างความแปลกแยกในภูมิภาคหากออสเตรเลียยังคงคัดค้านสนธิสัญญาที่เกินเวลามานานแล้วนี้ เป็นเรื่องน่าเสียใจอย่างยิ่งที่ออสเตรเลีย แทนที่จะยืนหยัดสำหรับสิ่งที่ถูกต้องในทางศีลธรรมและจำเป็น เลือกที่จะเข้าข้างประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์จำนวนไม่กี่ประเทศและประเทศอื่น ๆ ที่อ้างว่าอาวุธนิวเคลียร์นั้นถูกทำนองคลองธรรม”
เขากล่าวเสริมว่า: “ความพยายามของออสเตรเลียในการทำให้กลุ่มทำงานของสหประชาชาติด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์ไขว้เขวนั้นเป็นการดำเนินการที่พิเศษและเป็นสิ่งที่ส่งผลตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจเอาไว้อย่างน่าตื่นเต้น มันส่งผลให้มีการแนะนำที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและเสริมสร้างความแข็งแกร่งต่อมติของประเทศอื่น ๆ ในการเริ่มการเจรจาในปี 2017 สำหรับสนธิสัญญาในการทำให้อาวุธนิวเคลียร์ผิดกฎหมาย”
มตินี้เกิดขึ้นหลังจากการประชุมระหว่างรัฐบาลจำนวนสามครั้งเพื่อตรวจสอบผลกระทบทางด้านมนุษยธรรมของอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งจัดขึ้นในนอร์เวย์ เม็กซิโกและออสเตรียระหว่างปี 2013 และ 2014 การประชุมเหล่านี้ปูทางให้ประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์มีบทบาทที่แน่วแน่ในการลดอาวุธ
Wright กล่าวกับ IDN ว่า สำหรับการเรียกร้องให้ออสเตรเลียหยุดการพึ่งพาอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐฯ ที่อ้างถึงนั้น “นโยบายที่อันตรายของการป้องปรามนิวเคลียร์ระยะยาวนี้บ่อนทำลายการลดอาวุธและสนับสนุนการแพร่ขยาย มันส่งข้อความให้ชาติอื่น ๆ ว่าอาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูงเหล่านี้ถูกทำนองคลองธรรมและมีประโยชน์ ไม่ควรมีเหตุผลใด ๆ ก็ตามสำหรับนโยบายนี้ ไม่มีประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคใกล้เคียงของเราที่อ้างถึงการป้องกันจากอาวุธนิวเคลียร์”
รัฐและประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ที่ลงนามในการป้องปรามนิวเคลียร์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาสำหรับการรักษาความปลอดภัย เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ได้คัดค้านมตินี้
น่าสังเกตว่านิวซีแลนด์สนับสนุนมติซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ทางด้านสังคมและกฎหมายในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมาของประเทศในด้านอาวุธนิวเคลียร์ Wright กล่าว “ออสเตรเลียซึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนการลดอาวุธนิวเคลียร์ได้ละทิ้งหลักการในเรื่องนี้ในไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ คว้าทุกโอกาสในการแก้ต่างการถือครองอย่างต่อเนื่องและความเป็นไปได้ในการใช้งานอาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูงที่แย่ที่สุดเหล่านี้”
นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและประเทศไทยอยู่ท่ามกลางประเทศในภูมิภาคที่จะมีบทบาทสำคัญในการเจรจาการประชุมที่จะจัดในเดือนมีนาคมและมิถุนายน 2017 ในนิวยอร์ก
Maryan Street อดีตประธานของสมาชิกของรัฐสภานิวซีแลนด์สำหรับการไม่แพร่ขยายและการลดอาวุธ (PNND) กล่าวกับ IDN ว่า “น่าตกใจที่ออสเตรเลียคัดค้านมติ L41 ไม่มีคำอธิบายที่มีเหตุผลใด ๆ สำหรับสิ่งนี้นอกเสียจากการกล่าวถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดอยู่แล้ว และการพึ่งพาสหรัฐอเมริกาของพวกเขานั้นอยู่เหนือกว่าการพิจารณาอื่น ๆ ทั้งหมด ออสเตรเลียไม่เคยเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวด้านการต่อต้านนิวเคลียร์และดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ออสเตรเลียลงคะแนนเสียงอย่างที่เขาทำไป สำหรับรัฐบาลเสรีนิยมอนุรักษ์นิยม พวกเขาไม่กระตือรือร้นที่จะแสดงความกล้าหาญในเรื่องนี้”
ท่ามกลาง 34 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งลงคะแนนเสียงในเรื่องนี้ มีเพียงสี่ประเทศที่ออกเสียงไม่เห็นด้วย ซึ่งก็คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหพันธรัฐไมโครนีเซียและเกาหลีใต้ และอีกสี่ประเทศ – จีน อินเดีย ปากีสถานและวานูวาตูที่งดออกเสียง
“การทำตัวแปลกแยกจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่สุดในเรื่องที่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดหายนะอย่างฉับพลันนั้นดูเหมือนจะไร้ความรับผิดชอบ ออสเตรเลียจำเป็นต้องใช้พลังอันยิ่งใหญ่ของตนเพื่อร่วมมือกับที่ประชุมเอเชีย-แปซิฟิก เช่น การอภิปรายด้านการรักษาความปลอดภัยภูมิภาค ไม่ใช่การแยกตัวจากประเทศเหล่านั้น” Street กล่าว
ออสเตรเลียได้สนับสนุนการห้ามอาวุธเคมีและชีวภาพ ทุ่นระเบิดและระเบิดดาวกระจาย “ออสเตรเลียมุ่งมั่นในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ที่กระทำในวิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามตราบใดที่ภัยคุกคามจากการโจมตีโดยนิวเคลียร์ยังมีอยู่ การป้องปรามนิวเคลียร์ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาเข้ากันได้กับความสนใจทางด้านการรักษาความปลอดภัยของออสเตรเลีย”โฆษกแห่งกรมการต่างประเทศและการค้าแห่งออสเตรเลีย (DFAT) กล่าวกับ IDN
โดยสอดคล้องกับการสำรวจประจำปี 2016 โดย สถาบัน Lowy สำหรับนโยบายระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในซิดนีย์ การสนับสนุนการเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ได้ลดลงเก้าคะแนน: ชาวออสเตรเลียร้อยละ 71 มองว่าการเป็นพันธมิตรนั้นสำคัญ ‘อย่างยิ่ง’ หรือ ‘ค่อนข้าง’ สำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นระดับการสนับสนุนที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2007 แต่ยังคงสูงกว่าผลสำรวจในปีนี้อยู่แปดคะแนน
ออสเตรเลียรู้สึกว่าความพยายามของประเทศจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปยังการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT)ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการลดอาวุธทั่วโลกและระบบการไม่แพร่ขยายและการปรับใช้พันธกรณีที่ตกลงในแผนการดำเนินการของการประชุมการทบทวน NPT ในปี 2010
“สนธิสัญญาการห้ามอาวุธนิวเคลียร์โดยไม่มีส่วนร่วมจากประเทศที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์หรือโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยระหว่างประเทศจะไม่มีประสิทธิผลในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์”โฆษก DFAT กล่าวเสริม
ในระหว่างที่ NPT ยังคงมีความสำคัญในการห้ามการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์และเป็นพื้นฐานของการเจรจาการลดอาวุธ Wright กล่าวว่า “สนธิสัญญาในการห้ามอาวุธนิวเคลียร์เป็นมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการมาตรา VI ของ NPT สนธิสัญญาการห้ามนี้จะปิดช่องโหว่ในระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ มันทำให้เกิดความชัดเจนและไร้ข้อสงสัยว่าการใช้งาน ทดสอบ ผลิตหรือกักตุนอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศใด ๆ นั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย”
Wright เสริมว่า: “เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมากที่ออสเตรเลียและประเทศที่ชื่นชอบอาวุธนิวเคลียร์หลากหลายประเทศอื่น ๆ ดูเหมือนว่าจะละทิ้งการสนับสนุนของพวกเขาสำหรับ NPT พวกเขาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของพวกเขาภายใต้มาตรา VI ของสนธิสัญญาเพื่อแสวงหาการเจรจาสำหรับการลดอาวุธนิวเคลียร์”
รัฐสมาชิกของ NPT ทั้ง 191 ได้ให้คำมั่นต่อมาตรา 6 เพื่อ “แสวงหาการเจรจาอย่างจริงใจในมาตรการที่มีประสิทธิผลที่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสุดการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์ในเร็ววันและเพื่อการลดอาวุธนิวเคลียร์”
“ในปี 1996 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่าพวกเขามีภาระผูกพันที่จะทำให้การเจรจาเหล่านี้มีข้อสรุป มติ L.41 สอดคล้องกับภาระผูกพันนี้และพยายามที่จะมอบการแสดงออกในทางปฏิบัติให้กับมัน” กล่าวโดย Ramesh Thakur ผู้อำนวยการศูนย์สำหรับการลดการแพร่ขยายและการลดอาวุธ สถาบัน Crawford แห่งนโยบายสาธารณะในมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียในแคนเบอร์รา
สี่ในห้าของรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งลงนามต่อ NPT ซึ่งก็คือฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ได้ลงคะแนนไม่เห็นด้วยกับมติพร้อมกับอิสราเอล ประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่ไม่อยู่ใน NPT ประเทศจีนซึ่งมีขีปนาวุธนิวเคลียร์ราว 260 ชิ้น อินเดียซึ่งมีราว ๆ 100-120 ชิ้นและปากีสถานซึ่งมีราว ๆ 110-130 ชิ้นงดออกเสียง
Thakur กล่าวว่า “สนธิสัญญาห้ามนิวเคลียร์ทางกฎหมายนั้นไม่สามารถมอบการลดอาวุธนิวเคลียร์ได้ด้วยตัวมันเอง แต่มันสามารถเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟื้นฟูแรงผลักดันที่หย่อนยานและเสริมพลังให้กับความพยายามในการเปลี่ยนการห้ามให้เป็นการกำจัดขีปนาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงและการรื้อถอนโครงสร้างพื้นฐานของอาวุธนิวเคลียร์”
ตั้งแต่มีสัตยาบันแห่ง NPT ในปี 1973 ออสเตรเลียค่อนข้างมีนโยบายซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างสองพรรคต่อปัญหาด้านนิวเคลียร์ของโลก ดังเช่นที่วุฒิสมาชิกพรรคแรงงานและรัฐมนตรีเงากระทรวงการต่างประเทศ Penny Wong ได้กล่าวในการแถลงสื่อว่า “พรรคแรงงานสนับสนุนวิธีการที่มีประสิทธิผลและเป็นไปได้ต่อการไม่แพร่ขยายและการลดอาวุธ และจะยังคงแสวงหาเส้นทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้อย่างกระตือรือร้น พรรคแรงงานมีความรู้สึกผิดหวังร่วมกันกับนานาชาติต่ออัตราการลดอาวุธและจะยังคงมุ่งมั่นต่อการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์”
พรรคกรีนแห่งออสเตรเลียยังได้เรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ Julie Bishop อธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมออสเตรเลียถึงลงคะแนนเสียงไม่เห็นด้วยกับมติ
“ออสเตรเลียควรสนับสนุนการดำเนินการใน UNGA สำหรับข้อตกลงในการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ ออสเตรเลียควรเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของประเทศเพื่อสะท้อนต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและควรแสวงหาผลประโยชน์ของออสเตรเลียโดยอิสระก่อนที่นายทรัมป์จะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคมปีหน้า มันรวมถึงการปฏิบัติตามข้อสัญญาไม่รุกรานของกฎบัตรสหประชาชาติและสนธิสัญญาแห่งมิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ดร. Alison Broinowski อดีตทูตออสเตรเลียกล่าวกับ IDN [IDN-InDepthNews – 15 ธันวาคม 2016]
รูป: คณะกรรมการที่หนึ่งแห่งสมัชชาใหญ่สหประชาชาติระหว่างการประชุม เครดิต: ICAN | 28 ตุลาคม 2016